1. หาที่ปรึกษาและหัวข้อการวิจัย

ขั้นตอนแรกต้องอีเมลนัดคุยกับอาจารย์ที่ต้องให้เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ พออาจารย์ตกลงแล้วอาจจะเริ่มโดยการลงวิชา Directed Reading หรือ Directed Research เพื่ออ่านเปเปอร์หาหัวข้อที่สนใจ รวมทั้งเริ่มเตรียมงานวิจัยล่วงหน้าไปส่วนหนึ่ง

นิสิต ป.เอกจะต้องสอบวัดความรู้เชิงลึก 2 หัวข้อก่อนการสอบหัวข้อ คือการทดสอบความรู้เชิงลึกที่เกี่ยวกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ และนำคำตอบที่ส่งไปควบรวมเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เพื่อความสมบูรณ์ด้วย

การสอบวัดความรู้เชิงลึก

2. การสอบหัวข้อ หรือการสอบโครงร่าง

นิสิตป.โทจะต้องสอบหัวข้อภายใน 2 ปีการศึกษา

นิสิตป.เอกจะต้องสอบหัวข้อภายใน 3 ปีการศึกษา

ขั้นตอนในการขอสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์(หลังโควิด).doc

การสอบหัวข้อเป็นการสอบแบบปากเปล่าโดยนิสิตต้องนำเสนอ presentation เวลา 15-20 นาที เพื่อทบทวนเรื่องทั้งหมด และพูดถึง Research objectives และสมมติฐานให้ชัดเจนที่สุด ตอบคำถามต่างๆ จากกรรมการซึ่งจะเน้นว่าเป็นโครงการวิจัยที่สามารถทำได้สำเร็จ จบในกรอบเวลาที่เหมาะสม

นิสิตต้องปรึกษากับที่ปรึกษาว่าพร้อมสอบในเทอมนี้หรือยัง แล้วค่อยดำเนินการต่อ ขั้นตอนค่อนข้างจะยุบยับเล็กน้อยดังนี้

3. ทำวิจัย และตีพิมพ์เปเปอร์

ทำงานวิจัยจนเสร็จ เขียนเปเปอร์เพื่อตีพิมพ์ใน conference proceedings หรือ journal ให้อาจารย์ที่ปรึกษาเป็นคนแนะนำว่าควรจะส่งที่ไหนเมื่อไร ในระหว่างนี้อาจจะเขียนเล่ม thesis ไปด้วย

ทั้ง ป.โท และ ป.เอกต้องตีพิมพ์อย่างน้อย 1 ชิ้น ยกเว้นถ้าเป็นป.เอกแบบที่ 1 (research only) ต้องตีพิมพ์ 2 งาน (อ้างอิงประกาศ https:///www.grad.chula.ac.th/download/02_Chula_rule/rule_4_61.pdf)