สารนิพนธ์ ควรมีปริมาณพอ ๆ กับเปเปอร์ หนึ่งเปเปอร์ในสาขาที่ทำ โดย rigor จะน้อยกว่างานวิจัยที่ทำเป็น thesis และไม่จำเป็นต้องมีบท Background/literature review แบบยาวๆและไม่จำเป็นต้องอธิบายคอนเซปต์ที่เกี่ยวข้องโดยละเอียดเหมือนกับ thesis

ขั้นตอน

เทอมก่อนที่จะสอบ

  1. นิสิตควรลงทะเบียนเรียนรายวิชา 2209772 Individual Study, 2209773 Directed Reading หรือ 2209774 Directed Research กับอาจารย์ที่สนใจจะพัฒนาหัวข้อสารนิพนธ์ด้วย ก่อนภาคการศึกษาที่จะสอบสารนิพนธ์ ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตและอาจารย์ได้ทำงานร่วมกันก่อน หากไม่ได้ลงวิชาเหล่านี้ก่อน อาจารย์ที่ปรึกษาอาจไม่รับเป็นที่ปรึกษา

เทอมที่จะสอบ

  1. นิสิตส่งแบบฟอร์มเสนอหัวข้อสารนิพนธ์ให้คณะกรรมการบริหารหลักสูตรอนุมัติ ภายใน 2 สัปดาห์แรกของภาคการศึกษานั้น โดยหัวข้อสารนิพนธ์ดังกล่าวต้องผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาก่อน จากนั้นคณะกรรมการบริหารหลักสูตรจะอนุมัติหัวข้อ

    1. ไปที่ฟอร์มเสนอหัวข้อสารนิพนธ์
    2. กด File —> Make a copy
    3. กรอกข้อมูลจากนั้นกดแชร์ให้อาจารย์ที่ปรึกษาลงความเห็น ลงชื่อ และส่งต่อให้พี่บี
  2. ภาควิชาดำเนินการแต่งตั้งกรรมการสอบสารนิพนธ์ การสอบสารนิพนธ์จะประกอบด้วยกรรมการ 3 ท่าน ได้แก่ อาจารย์ที่ปรึกษา และกรรมการอีก 2 ท่านซึ่งเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาหรือไม่ก็ได้

    ข้อ ๑๐ การสอบการค้นคว้าอิสระสำหรับหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต ให้มีคณะกรรมการสอบการค้นคว้าอิสระ จานวนไม่น้อยกว่าสามคน ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (๑) ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตร หรือผู้ที่ประธานคณะกรรมการบริหารหลักสูตรมอบหมาย เป็นประธาน (๒) อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระหลัก และอาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระร่วม (ถ้ามี) ในกรณีเช่นนี้ให้นับเป็น ๑ คน (๓) อาจารย์ประจำ อาจารย์ประจำหลักสูตรหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกไม่น้อยกว่าหนึ่งคน เป็นกรรมการ ทั้งนี้ อาจารย์ที่ปรึกษาการค้นคว้าอิสระทำหน้าที่เป็นประธานคณะกรรมการสอบการค้นคว้าอิสระมิได้ สำหรับคุณวุฒิและผลงานทางวิชาการของประธานและกรรมการสอบการค้นคว้าอิสระเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ข้อ ๙ (๓) ข้อ ๙ (๓) (๓) ประธานและกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้ (ก) เป็นอาจารย์ประจำ อาจารย์ประจำหลักสูตร หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก (ข) กรณีอาจารย์ประจำ อาจารย์ประจำหลักสูตร ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตหรือเทียบเท่า หรือคุณวุฒิขั้นต่ำระดับปริญญามหาบัณฑิตหรือเทียบเท่าที่มีตำแหน่งรองศาสตราจารย์ และมีผลงานทางวิชาการที่ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา และเป็นผลงานทางวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) หรือคณะวุฒยาจารย์กำหนดในการพิจารณาแต่งตั้งให้บุคคลดารงตำแหน่งทางวิชาการอย่างน้อยสามรายการในรอบห้าปีย้อนหลัง โดยอย่างน้อย หนึ่งรายการต้องเป็นผลงานวิจัย (ค) กรณีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต ต้องมีคุณวุฒิระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิตหรือเทียบเท่า และมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารที่มีชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติไม่น้อยกว่าสิบเรื่อง หรือระดับนานาชาติไม่น้อยกว่าห้าเรื่อง ซึ่งตรงหรือสัมพันธ์กับหัวข้อวิทยานิพนธ์หรือการค้นคว้าอิสระ ทั้งนี้ ฐานข้อมูลที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) กำหนด กรณีผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกที่ไม่มีคุณวุฒิและผลงานทางวิชาการตามที่กาหนดต้องได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

  3. ในภาคการศึกษาที่คาดว่าจะสอบสารนิพนธ์ นิสิตจะต้องลงทะเบียนรายวิชา 2209777 Special Research (6 หน่วยกิต) ซึ่งมี Sec เดียว ไม่ต้องเลือก Instructor | แบบประเมินสารนิพนธ์

    1. หากนิสิตสอบสารนิพนธ์ผ่าน จะได้รับการประเมินเป็น S หากนิสิตสอบสารนิพนธ์ไม่ผ่าน จะได้รับการประเมินเป็น U
    2. หากนิสิตไม่สามารถสอบสารนิพนธ์ได้ในภาคการศึกษานั้น นิสิตจะได้รับสัญลักษณ์ U และสามารถลงทะเบียนรายวิชาเดิมได้อีกจนกว่าจะสามารถสอบสารนิพนธ์ได้ (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง)
    3. ผลสอบสารนิพนธ์คือ ผ่านหรือไม่ผ่าน ใช้เสียง 2 ใน 3 การผ่านแบ่งเป็น 3 ระดับคือ ดีมาก ดี และผ่าน

การสอบ

  1. ก่อนอื่นนิสิตต้องเขียนเล่มให้เรียบร้อย พร้อมทั้งขอ feedback จากอาจารย์ที่ปรึกษา ปรับปรุง แก้ไขให้สมบูรณ์ก่อน
  2. หลังจากที่อาจารย์ที่ปรึกษามีความเห็นว่านิสิตพร้อมที่จะสอบสารนิพนธ์แล้วจึงค่อยติดต่อกรรมการเพื่อนัดเวลาสอบ ภาคจะกำหนดเวลาสอบประมาณสัปดาห์หลังสอบปลายภาค
    1. การสอบสารนิพนธ์จะต้องเสร็จก่อนวันที่อนุมติเกรดของภาคเรียนนั้น ๆ (กำหนดเวลาไม่เหมือนกับกำหนดสอบวิทยานิพนธ์)
  3. แจ้งพี่โดนัท ณัฐนันท์(เจ้าหน้าที่ภาควิชา) ให้เตรียมตัวทำเอกสารในการเบิกจ่าย และจัดหาห้องสอบให้ในกรณีที่สอบที่คณะ
  4. เตรียม presentation ไม่เกิน 20 นาที และถามตอบกับคณะกรรมการ หลังจากสิ้นสุดการถามตอบ คณะกรรมการจะแจ้งให้ทราบว่าผ่านหรือไม่ผ่าน
  5. ส่งเล่ม i-thesis ให้ตรวจสอบกำหนดส่งจากทะเบียนของมหาวิทยาลัย เมื่อดำเนินการทำสารนิพนธ์แล้วเสร็จและส่งข้อมูลสารนิพนธ์ในระบบ iThesis  เมื่อเรียบร้อยแล้ว  ให้ส่งใบนำส่งสารนิพนธ์ของนิสิตมายังภาควิชาฯ อีเมลส่งพี่บี [email protected] หลังวันส่งวิทยาฯ 3-5 วันได้ (การส่งเล่มมักใช้วันเดียวกับวันสุดท้ายส่งวิทยาฯฉบับสมบูรณ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด)